ズーム ダウンフォースHGサス 1台分 シビック ET2 D17A H16/9〜 4WD

เคล็ด (ไม่) ลับ เพิ่มสมรรถภาพสมองและความจํา
การออกกําลังกายมีผลต่อสุขภาพของเซลล์สมองโดยตรง เพราะจะทําให้ร่างกายสูบฉีดโลหิตให้นําออกซิเจนไป
เลี้ยงสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้เซลล์สมองแข็งแรง มีอายุยืนยาว และชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองได้
เป็นอย่างดี
เมื่อสมองแจ่มใส จิตใจเบิกบาน ความจําเป็นเลิศ ไม่ว่าจะทําอะไรก็มั่นใจ ไร้ความวิตกกังวล แต่สภาพสังคมใน
ปัจจุบันช่างเป็นอุปสรรคต่อการจดจําสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวันเสียจริง จนทําให้หลายๆ คนมีอาการ
หลงลืมและพลาดเรื่องสําคัญไปอย่างน่าเสียดาย แต่นักวิจัยเขามีเคล็ด (ไม่) ลับ การดูแลสุขภาพสมองและ
ความจํามาฝากกัน
สภาพสังคมทีส่ ับสนวุ่นวายและตึงเครียดมีส่วนชักนําให้สมองและความจําของคนเราด้อยศักยภาพ ส่งผลให้
ขาดประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการทํางาน เหล่านักวิจัยจาก ม.ขอนแก่น ที่มาร่วมงานประชุมวิชาการ
ระดับชาติครั้งแรกของประเทศด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (The First National Conference on
Neuroscience) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มี.ค.51 ที่ผ่านมา มีคําแนะนําดีๆ สําหรับ
กระตุ้นการเรียนรู้และความจํามาฝากกัน
กินแบบไหนช่วยให้สมองและความจําดีขนึ้ ได้
ผศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร หัวหน้ากลุ่มวิจัยพัฒนา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพสมอง
คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น เผยว่าการทํางานของ
สมองนั้นเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท โดยเฉพาะ อะ
ซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ประสิทธิภาพความจําของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
(hippocampus) และอาหารหลายชนิดมีสว่ นช่วยให้
สมองทํางานได้ดีขึ้น
ในพืชผักจําพวกหอมหัวใหญ่ พริก ขิง เหล่านี้มีสารสําคัญที่ช่วยเพิ่มเซลล์สมองส่วนฮิปโปแคมปัส และกระตุ้น
การหลั่งอะซีทลิ โคลีน ส่งเสริมให้ความจําดีขึ้นได้ สาระสําคัญในใบบัวบกช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง ทําให้
สมองตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี สมาธิดี และความจําดีขึ้น
สารทอรีน (taurine) ที่พบเฉพาะในโปรตีนจากเนื้อสัตว์เท่านั้น ช่วยบํารุงสมองและจําเป็นต่อการดํารงอยู่ของ
เซลล์สมอง ส่วนกรดโฟลิก (folic acid) ที่พบมากในผักใบเขียว จําเป็นต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยป้องกันไม่ให้ทารกที่เกิดมาพิการทางสมองส่วนโอเมกา 3 (omega 3) ซึ่งพบมากในปลา
ทะเล และเป็นสารสําคัญที่ช่วยให้เซลล์ประสาททํางานได้อย่างเป็นปกติ ช่วยลดการเกิดพังผืด (plaque) ใน
สมองและป้องกันอัลไซเมอร์ได้
“โดยทั่วไปหากกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอในแต่ละวันทําให้ร่างกายได้รับสารที่มีประโยชน์อย่าง
เพียงพออยู่แล้ว แต่ในกรณีทจี่ ําเป็นต้องได้รับสารอาหารที่จําเป็นเสริม เช่น ในรูปผลิตเสริมอาหารชนิดเม็ดหรือ
แคปซูล ก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจปนเปื้อนมากับ
ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เช่น โลหะหนัก หรือสารหนู” ผศ.ดร.จินตนาภรณ์ แนะนํา
ออกกําลังอย่างไรให้สมองแจ่มใส สุขภาพดีทั้งกายและใจ
ผศ.ดร.สุภาพร มัชฌิมะปุระ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะ
แพทยศาสตร์ ให้ข้อมูลว่าจากการศึกษาของนักวิจัยทํา
ให้รู้ว่าการออกกําลังกายนั้นมีผลต่อการทํางานของ
สมองโดยตรง เพราะการออกกําลังกายจะช่วยกระตุ้น
การไหลเวียนของเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ ทําให้
เลือดนําออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น
เซลล์สมองจําเป็นต้องใช้พลังงานมาก เมื่อได้รับพลังงาน
อย่างเพียงพอสมองก็จะทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น ชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองให้ช้าลงได้
อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการหลั่งสารสือ่ ประสาท
ส่งเสริมการเรียนรู้และความจําให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเด็กจะช่วยให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้รวดเร็ว
อีกทั้งการออกกําลังกายยังเป็นการแสดงออกถึงความเครียดเล็ก ซึ่งเมื่อออกกําลังกายเป็นประจําเสมือนเป็น
การฝึกให้สมองอดทนต่อความเครียดไปในตัว ช่วยลดภาวะความซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
การออกกําลังกายที่ดีต่อสมองนั้นควรออกกําลังกายให้หลากหลายประเภท เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของ
สมองจากการได้ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ํา ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิก เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้
เราได้พบปะผู้คนและมีปฏิสมั พันธ์กับคนในสังคมที่หลากหลาย ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและลดภาวะ
ซึมเศร้าได้
สําหรับผู้ที่เริ่มต้นออกกําลังกายควรเริ่มจากทีละไม่มาก 10 นาทีต่อครั้ง, 3 ครั้งต่อวัน และค่อยพัฒนาไปเป็น
15-30 นาทีต่อครั้ง, 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ที่สาํ คัญอย่าหักโหมเกินไป อาจให้โทษมากกว่าประโยชน์
ส่วนเด็กๆ ก็ควรละสายตาจากคอมพิวเตอร์แล้วเปลี่ยนไปวิ่งเล่นออกกําลังกายกับเพื่อนวัยเดียวกัน จะช่วย
กระตุ้นการเรียนรู้และความคิดได้เป็นอย่างดี และใครที่ยังหาเวลาออกกําลังกายอย่างจริงจังไม่ได้ การยืดเส้น
ยืดสายหรือขยับร่างกายอยู่บ่อยก็ช่วยได้
กระตุ้นสมองและความจําด้วย “สุคนธบําบัด”
ศาสตร์และความเชื่อแห่งสุคนธบําบัดหรือการบําบัดด้วยกลิ่น
(aromatherapy) มีมานานนับพันปี มาถึงศตวรรษนี้ก็ได้รับ
การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าได้ผลดีจริง รศ.ดร.เจียมจิต
แสงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ เผยผลการวิจัยในประเทศ
อังกฤษว่า ได้มีการทดลองให้อาสาสมัครจํานวนหนึ่งทดลองดม
กลิ่นน้ํามันหอมระเหยจากกุหลาบก่อนทํางานทุกคน พบว่าทุก
คนมีสมาธิดีและสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้นแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 4 กลุ่ม และให้ดมกลิ่นน้ํามัน
หอมระเหยจากกุหลาบอีกครัง้ หนึ่ง โดยกลุ่มแรกให้ดมก่อน
นอน กลุ่มที่ 2 ให้ดมขณะกําลังเคลิ้มหลับ กลุ่มที 3 ให้ดมขณะหลับลึก และกลุ่มที่ 4 ให้ดมหลังจากตื่นนอน ซึ่ง
จากการตรวจวัดคลื่นสมองและทดสอบความจําผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับกลิ่นขณะหลับลึกสามารถจดจํางานที่
ทําไปก่อนหน้านั้นได้ดีที่สุดนักวิจัยจึงสรุปว่ากลิ่นนั้นช่วยให้สมองมีความจําดีในขณะเรียนรู้ได้ และยังช่วย
เปลี่ยนให้เป็นความจําระยะยาวได้ในขณะนอนหลับลึก
รศ.ดร.เจียมจิต จึงแนะนําว่าการนํากลิ่นกุหลาบไปใช้ในห้องเรียนสามารถช่วยให้เด็กนักเรียนมีสมาธิและ
ความจําดีขึ้น ตื่นตัวและตั้งใจเรียนมากขึ้น คุยกันน้อยลง และกลิ่นกุหลาบนี้ยังช่วยบรรเทาอาการก้าวร้าว การ
มีจิตใจฝังลึกในผู้ป่วยจิตเวทได้ด้วย
นอกจากนี้กลิ่นโรสแมรีและกลิ่นเปปเปอร์มินท์ช่วยให้สมองตื่นตัวต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ความจําดีขึ้น กลิ่น
มะนาวช่วยกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท ลดความตึงเครียด ทําให้จิตใจสงบ เช่นเดียวกับลาเวนเดอร์ และ
กลิ่นส้ม ซึ่งช่วยให้คนไข้ในคลินิกทันตกรรมสามารถรอนานได้โดยไม่ฉุนเฉียวและบ่นน้อยลง อย่างไรก็ดีกลิ่นส้ม
หรือซิตรัส (citrus) นี้ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือน
แรกของการตั้งครรภ์
ผู้จัดการออนไลน์
5/4/2008